บริษัท ไมครอน ซอฟแวร์เซอร์วิส จำกัด

ระบบควบคุมเช็คและเงินฝากธนาคาร

     เช็ครับและเช็คจ่ายจะถูกส่งมาจากการรับชำระหนี้ และจ่ายชำระหนี้

1. สามารถพิมพ์และแก้ไขรูปแบบเช็คที่แตกต่างกันได้ 6 ธนาคาร

2. การรับชำระ/จ่ายชำระหนี้ด้วยเช็ค ระบบบัญชี Express จะนำเช็คไปเก็บไว้ในทะเบียนเช็ค เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ดูแลและตรวจสอบ

3. มีรายงานเช็ครับเรียงตามวันที่เช็ค เพื่อช่วยเตือนว่ามีเช็คใบไหนที่ถึงกำหนดนำฝาก

4. สามารถพิมพ์ใบนำฝากเช็ค(Pay in Slip) แทนการเขียนด้วยมือ ทำให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น


5. สามารถบันทึกการผ่านเช็คทั้งชุดที่นำฝาก หรือผ่านเช็คทีละใบก็ได้

6. สามารถเก็บประวัติเช็คคืน (เช็คเด้ง) เพื่อเก็บไว้พิจารณาการให้เครดิต

7. มีรายงานเช็คจ่ายเรียงตามเลขที่เช็ค สำหรับตรวจสอบกับสมุดเช็คแต่ละใบที่เซ็นต์จ่ายไป

8. มีรายงานเช็คจ่ายเรียงตามวันที่เช็ค เพื่อเตือนให้ฝ่ายการเงินทราบว่าจะมีเช็คใบไหนบ้างและจำนวนเงินเท่าไหร่ ? ที่จะตัดจากบัญชี จะได้เตรียมโอนเงิน

    จากบัญชีออมทรัพย์เข้าบัญชีกระแสรายวันได้ทันเวลา

9. สามารถกำหนดให้ระบบทำการผ่านเช็คจ่ายให้เองอัตโนมัติ (ไม่ต้องเสียเวลาผ่านเอง)

10. สามารถบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับบัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น ฝาก/ถอนเงินสด, โอนเงินระหว่างธนาคาร, จ่ายค่าธรรมเนียม ฯ และพิมพ์รายงานเพื่อนำ

      มากระทบยอดกับ Bank Statement ได้ (ทำ Bank Reconcile)

11. สามารถถอนเงินสดด้วยเช็คของบริษัท และบันทึกการขายลดเช็คได้


ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

       ข้อมูล จะถูกส่งมาจากระบบการซื้อสินค้า, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ, ลดหนี้/ส่งคืนสินค้า, ขายสินค้า, รายได้อื่นๆ, ลดหนี้/รับคืนสินค้า และระบบบัญชี

1. สามารถบันทึกการซื้อ/ขายได้ทั้งแบบ ราคารวมภาษี (Inclusive) และราคาแยกภาษี (Exclusive) รวมทั้งรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี

2. สามารถพิมพ์รายงานภาษีซื้อ, ภาษีขาย และมูลค่าฐานภาษี ที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด และนำตัวเลขมากรอกในแบบ ภ.พ.30 พร้อมนำ

    ส่งทุกวันที่ 15 ได้ทันที

3. รองรับธุรกิจที่ขอคืนภาษีซื้อได้ไม่เต็มจำนวน โปรแกรมจะพิมพ์รายงานภาษีซื้อแยกเป็น 2 ยอด คือ ยอดที่ขอคืนได้ และยอดที่ขอคืนไม่ได้

4. รองรับกรณีที่มีใบกำกับภาษีมาถึงล่าช้าแต่ไม่เกิน 6 เดือน และกรณีเกิน 6 เดือน ระบบจะแยกรายงานภาษีซื้อออกเป็น 2 รายงาน ได้แก่ รายงานภาษีซื้อ 

    (ยื่นปกติ) และรายงานภาษีซื้อ (ยื่นเพิ่มเติม)

5. รายงานภาษีซื้อ สามารถเลือกพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์และจอภาพได้ทั้ง 2 แบบ ได้แก่

    - เรียงตามวันที่ ที่ได้รับใบกำกับภาษี ตามประกาศกรมสรรพากรฉบับที่ 89 มีผลตั้งแต่ 29 เม.ย. 2542

    - เรียงตามวันที่ใบกำกับภาษี ตามประกาศฉบับเก่า (จะค้นหาใบกำกับภาษีในรายงานได้ง่ายกว่า)

6. สามารถพิมพ์และแก้ไขรูปแบบรายงานภาษีซื้อที่แตกต่างกันได้ 6 แบบ และมีต้นฉบับที่ช่วยให้แก้ไขได้ 7 แบบ

7. สามารถพิมพ์และแก้ไขรูปแบบรายงานภาษีขายที่แตกต่างกันได้ 6 แบบ และมีต้นฉบับที่ช่วยให้แก้ไขได้ 7 แบบ

8. สามารถเลือกวิธีการบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 2 แบบ คือ แบบเกณฑ์สิทธิ และแบบเกณฑ์เงินสด

9. สามารถพิมพ์รายงานภาษีซื้อ, ภาซื้อขาย และแบบยื่น ภงด. แยกตามแผนกได้

10. สามารถพิมพ์แบบยื่น ภงด.3, ภงด.53 ซึ่งตรงตามแบบสรรพากรกำหนด และแนบนำส่งทุกวันที่ 7 ของเดือนได้ทันที

11. สามารถกำหนดประเภทเงินได้ และอัตราที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ล่วงหน้า ทำให้เวลาที่ทำใบหัก จะได้ไม่ผิดพลาด



  ก่อนหน้า ถัดไป